วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

หัวข้อที่สนใจศึกษา

เรื่อง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเรื่องภาษีกับการพัฒนาท้องถิ่น
ความเป็นมาและความสำคัญ
องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) เป็นหน่วยงานในระดับท้องถิ่นของสังคมไทย ที่ตอบรับกระแสการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเพื่อให้เป็นกลไกเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองการบริหารพัฒนาตนเองตามปรัชญาของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ภายใต้เงื่อนไขแห่งบทบัญญัติ ตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลตั้งแต่ พ.ศ. 2537เป็นต้นมา โดยยกฐานะมาจากสภาตำบล ที่มีรายได้ไม่รวมเงินอุดหนุนในปีงบประมาณ ปีที่ล่วงมาติดต่อกัน 3ปี เฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 150,000.- บาท ให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ระดับพื้นฐานของสังคม และภายใต้ข้อกำหนดแห่งรัฐธรรมนูญ ราชอานาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มาตรา 282 – 290 ระบุว่า รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นในการพึ่งตนเองและตัดสินใจในภารกิจของท้องถิ่นได้เอง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ระบบสาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น และรัฐบาลมีหน้าที่กำกับดูแลเท่าที่จำเป็นภายใต้กรอบของกฎหมาย
ในประเทศไทยได้จัดตั้ง อบต. จำนวน 6,746 แห่ง เดิมมีการแบ่งชั้นของ อบต. เป็น 5 ชั้น คือ ชั้นที่ 1 มีรายได้ 20 ล้านบาทขึ้นไป ชั้นที่ 2 มีรายได้ 12 – 20 ล้านบาท ชั้นที่ 3 มีรายได้ 6 – 12 ล้านบาท ชั้นที่ 4 มีรายได้ 3 – 6 ล้านบาท ชั้นที่ 5 มีรายได้ไม่เกิน 3 ล้านบาท และขณะนี้กระทรวงมหาดไทยได้เสนอร่างพระบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบลฉบับใหม่โดยยกเลิกการแบ่งชั้น อบต. ให้เป็นขนาด ขนาดของอบต.จะแบ่งออกเป็น 3 ขนาด คือ อบต.ขนาดใหญ่ อบต. ขนาดกลาง และอบต. ขนาดเล็ก ซึ่ง อบต.กรุงหยัน จัดอยู่ในประเภทของ อบต. ขนาดเล็ก
เนื่องจากการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นรูปธรรมได้ที่ อบต. ท้องถิ่นต้องมีการเงินที่ดี มีอิสระ มีความสามารถในการบริหารการคลังได้ด้วยตนเอง โดยกำหนดให้เงินรายได้ที่ อบต. จัดเก็บเองไม่ต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน อบต. จำเป็นที่จะต้องปรับปรุงประสิทธิภาพในการบริหารการจัดเก็บภาษีโดยเน้นระบบการจัดเก็บภาษีและเพิ่มรายได้ เพื่อให้ท้องถิ่นสามารถที่จะดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐบาลกลางในการจัดสรรเงินอุดหนุน นอกจากนั้นยังเป็นการสอดคล้องกับยโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องคืกรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการ ปกครองตนเองมากขึ้น
องค์การบริหารส่วนตำบล มีรูปแบบคล้ายการปกครองระดับชาติ ประกอบด้วย 2 ส่วน ดังนี้
1.) สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งได้รับเลือกตั้งจากราษฎรในตำบลนั้น ๆ หมู่บ้านละ 2 คน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบในเรื่องแผนพัฒนาตำบล ร่างข้อบัญญัติตำบล ร่างข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี และควบคุมการปฏิบัติงานของ คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล
คณะผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบล 2 คน เลขานุการผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน มีหน้าที่ บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จัดทำแผนพัฒนาตำบล และจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปี รายงานผลการปฏิบัติและการใช้จ่ายเงินให้สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล ทราบ และปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 และที่แก่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2542 มาตรา 74 – 82 จำแนกได้ดังนี้
1. ภาษีที่จัดเก็บเอง
1.1 ภาษีบำรุงท้องที่
1.2 ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
1.3 ภาษีป้าย
2. ภาษีที่รัฐจัดเก็บเพิ่มให้
2.1 ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะ
2.2 ภาษีสุรา
2.3 ภาษีสรรพสามิตร
2.4 อากรฆ่าสัตว์
3. ภาษีที่รัฐจัดเก็บให้ และจัดสรรให้ องค์การบริหารส่วนตำบลตามสัดส่วน
3.1 ภาษีและค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ดิน
3.2 ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน
3.3 รายได้จาสาธารณูปโภคและการพาณิชย์
3.4 รายได้เบ็ดเตล็ด เช่น เงินที่มีผู้อุทิศให้
3.5 เงินอุดหนุนจากรัฐบาล
มารตาการ การจัดเก็บภาษีรายได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
1. อบต. จัดเก็บรายได้เอง ส่วนนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
กลุ่มที่ 1 การจัดเก็บรายได้ภาษีอากรซึ่งทุก อบต. ต้องปฏิบัติเป็นแบบแผนเดียวกันโดยจัดเก็บตามพระราชบัญญัติต่าง ๆ ได้แก่
1.1 พระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 และที่แก่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3)
พ.ศ. 2543
1.2 พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 และที่แก่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 และที่แก่ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. 2543
1.3 พระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2534
กลุ่มที่ 2 การจัดเก็บรายได้ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จัดเก็บตามข้อบัญญัติตำบลที่ตราขึ้น เพื่อใช้บังคับในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบของตนเองเท่านั้น
2. รายได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้จัดสรรจากส่วนราชการอื่น
3. รายได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้รับเงินอุดหนุนทั่วไผจากรัฐบาล
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน องค์
กรพัฒนาเอกชน สื่อมวลชน และกรรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสนับสนุนการบริหารงานของ อบต. ได้เห็นความสำคัญในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลด้วยเหตุดังกล่าว รัฐบาลจึงให้ความสำคัญในการจัดเก็บรายได้ขององคืการบริหารส่วนตำบลตลอดมาแต่องค์การบริหารส่วนตำบล มีปัญหาในการ ดำเนินการในหลายด้าน ประกอบกับรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการวางโครงสร้าง การบริหารและระเบียบต่าง ๆ หลายครั้ง จึงทำให้การดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนตำบลขาดความต่อเนื่อง และมีปัญหาในการบริหารโดยเฉพาะปัญหาทางด้านงบประมาณ ดังที่กล่าวถึง จุดอ่อนในด้านงบประมาณขององ๕การบริหารส่วนตำบลมีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับการกำหนดโครงการขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่ค่อยถูกต้องตามหลักวิธีการเนื่องจากกรรมการยังมีขีดความสามารถในการจัดทำแผนจำกัดส่งผลกระทบให้การบริหารงบประมาณขาดประสิทธิภาพ
จะเห็นได้ว่า ปัญหางบประมาณเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะจะส่งผลเชื่อมโยงกับปัญหาอื่น ๆ เนื่องจากการดำเนินงานตามโครงการเพื่อพัฒนาต่าง ๆ ถึงแม้ว่าองค์การบริหารส่วนตำบลโดยทั่วไปมีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่อำนาจหน้าที่เกี่ยวกับวิธีการงบประมาณและการคลังยังจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการทางงบประมาณองค์การบริหารส่วนตำบลแต่ละแห่ง
ความสามารถในการจัดเก็บรายได้และการบริหารรายได้ ถือเป็นมาตรการ พื้นฐานที่สำคัญอย่างยิ่งที่จะสามารถผลักดันให้การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถพึ่งตนเองได้ จำเป็นต้องมีการจัดการที่ดี คือ การพัฒนาระบบการคลังท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการบริหารการจัดเก็บที่มีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดรายได้กับท้องถิ่นมากที่สุด เพื่อลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนจากส่วนกลาง สร้างเอกภาพและความมั่นคงในการปกครองตนเองตามหลักการกระจายอำนาจ เพื่อลดการถูกควบคุมการทอนอำนาจและสิทธิในการปกครองตนเองให้น้อยลง รายได้ของท้องถิ่นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการบริหารเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า สามารถอำนวยความสะดวกและความผาสุขของประชาชนในท้องถิ่นโดยรัฐบาลกลางใช้มาตราการ การกระจายอำนาจทางการคลังให้ท้องถิ่นมีอิสระในด้านการคลัง เช่นการใช้จ่ายเงิน การจัดเก็บรายได้ที่อยู่ในอำนาจขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลจะต้องปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2541 แต่ทั้งนี้ การคลังท้องถิ่นจะสัมพันธ์กับการคลังส่วนกลาง โดยรัฐจะยังคงดูแลเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อส่วนรวมและเป็นไปตามมาตรฐาน ขณะเดียวกันจะสนับสนุนในกิจการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น
ด้วยเหตุนี้เองที่การจัดการด้านการจัดเก็บรายได้ มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของ อบต. การศึกษาในเรื่องดังกล่าว จึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านการจัดเก็บรายได้ของ อบต. เฉพาะในประเด็นประสิทธิผลของการจัดเก็บรายได้ ผู้วิจัยเลือกที่จะศึกษา อบต. ในเขตตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากมี อบต. หลายแห่งได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัล ตามหลักการบริหารจัดการที่ดี (ธรรมาภิบาล) จากกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ในช่วงปี 2545 – 2546 และเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาประสิทธิผลในการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลอื่น ๆ ต่อไป
วัตถุประสงค์
1.) เพื่อศึกษาการเรียนรู้ร่วมกันของประชาชนในการจัดเก็บภาษี ของ อบต. กรุงหยัน
2.) เพื่อศึกษาความรู้ ความเข้าใจ เรื่องภาษีของประชาชน ของ อบต. กรุงหยัน
3.) เพื่อศึกษาประสบการณ์และขั้นตอนการเสียภาษีของ อบต. กรุงหยัน
ขอบเขตของการวิจัย
1.) ประชากร
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงหยัน และประชาชนผู้เสียภาษีขององค์การบริหารส่วนตำบลกรุงหยัน อำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช
1.1) ประชากรจากภาครัฐ (พนักงาน อบต.) ประกอบด้วย นายก องค์การบริหาร
ส่วนตำบลกรุงหยัน 1 คน รองนายก องค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน หัวหน้าส่วนการคลัง 1 คน หัวหน้าส่วนโยธา 1 คน และเจ้าหน้าที่จัดเก็บรายได้ 1 คน รวมเป็น 6 คน
1.2) ประชาชนจากภาคประชาชน ประกอบด้วย ประชาชนผู้มีหน้าทีเสียภาษีใน
พื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกรุงหยัน ทั้งแปดหมู่บ้าน หมู่บ้านละ 3 คน รวมเป็น 24 คน
2.) ขอบเขตเนื้อหา
การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งให้ประชาชนได้เรียนรู้ร่วมกันกับพนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลกรุงหยัน เรื่องภาษีกับการพัฒนาท้องถิ่น
แนวคิดทฤษฎี
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดเก็บรายได้
2. ระบบการจัดเก็บรายได้
3. ขั้นตอนและวิธีการจัดเก็บรายได้
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก/การสนธนากลุ่ม
2. ประชุมแกนนำชุมชน
3. จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน